นักเรียนน้อย
26th January 2013, 10:58 AM
:014-Bow:
หลังจากเสร็จจากการเป็นอาสาสมัครถ่ายภาพกระทิงที่เขาแผงม้าในปลายปี ๒๕๕๐
ผมก็ใช้เวลาว่างเว้นจากการงานประจำเข้าไปเรียนรู้กับโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก
ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มันเป็นโครงการในฝันอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำหนังสือบอกเล่าวงจร
ชีวิตของนกเงือกในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และบอกเล่าถึงการทำงานของ นักวิจัย ที่ทำให้
นกเงือกเมืองไทยรู้จักกันไปทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
ผมวางแผนว่าจะใช้เวลาปีแรกเรียนรู้และค่อยๆ ถ่ายภาพ เมื่อรู้จักวงจรชีวิตของนกเงือก
ในรอบปีแล้ว ปีที่สองจะเริ่มตามเก็บภาพ และหวังว่าจะมีงานที่ดีพอที่จะขอรับงบสนับสนุนใน
การทำงานและการจัดพิมพ์ได้ แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็ต้องใช้เวลาร่วม ๔ ปี กับการตามถ่ายภาพ
นกเงือก ๔ ชนิด
ผมใช้เวลา ๓ ฤดูทำรังของนก ตั้งแต่ ๕๑-๕๓ เฝ้าเรียนรู้และถ่ายภาพ นกเข้าโพรง
เลี้ยงลูก ลูกออกจากโพรง นกรวมฝูง ที่นอนของนก การหากินของนกบนต้นไทร ฯลฯ
เพื่อให้ได้ภาพพฤติกรรมครบถ้วนตามที่วางไว้ ส่วนในปี ๕๔ นั้นเป็นช่วงของการเก็บ
รายละเอียดของงานเท่าที่จะทำได้
เมื่องานถ่ายภาพใกล้จะเสร็จผมก็ได้รับข่าวดี เมื่อ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนงบประมาณ และได้รับข่าวดีและความกรุณายิ่งไปกว่านั้น
เมื่อท่านอาจารย์พิไลจะเขียนเนื้อหาในหนังสือให้
ความฝันเล็กๆ อีกเรื่องหนึ่งของเราที่กลายมาเป็นความจริง
เรียนเชิญทุกท่านพบกันในงานวันรักนกเงือก ๑๓ กุมภาพันธ์ งานเริ่มตั้งแต่เที่ยง-สองทุ่ม
พร้อมร่วมเปิดตัวหนังสือ “นกเงือก มรดกไทย มรดกโลก” เรื่องโดย ศ.ดร. พิไล พูลสวัสดิ์
ภาพโดย ณรงค์ สุวรรณรงค์ หนังสือมีจำหน่ายในงาน ราคาเต็ม ๑๕๐๐ บาท ลดเหลือ ๑๒๐๐ บาท
พร้อมถุงผ้า (เฉพาะในงาน) หนังสือปกแข็งขนาด ๑๑ x ๑๑ นิ้ว พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา
๔ สี ทั้งเล่ม หนาประมาณ ๒๑๖ หน้า(ยังไม่เห็นเล่มจริงเหมือนกันครับ)
รายได้จากการจำหน่ายทั้งหมดนำเข้าโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก
งานจัดที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พระราม ๖
ขอบคุณมากครับผม
เครดิตภาพ : Thailand Hornbill Project
หลังจากเสร็จจากการเป็นอาสาสมัครถ่ายภาพกระทิงที่เขาแผงม้าในปลายปี ๒๕๕๐
ผมก็ใช้เวลาว่างเว้นจากการงานประจำเข้าไปเรียนรู้กับโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก
ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มันเป็นโครงการในฝันอีกเรื่องหนึ่งที่จะทำหนังสือบอกเล่าวงจร
ชีวิตของนกเงือกในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และบอกเล่าถึงการทำงานของ นักวิจัย ที่ทำให้
นกเงือกเมืองไทยรู้จักกันไปทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
ผมวางแผนว่าจะใช้เวลาปีแรกเรียนรู้และค่อยๆ ถ่ายภาพ เมื่อรู้จักวงจรชีวิตของนกเงือก
ในรอบปีแล้ว ปีที่สองจะเริ่มตามเก็บภาพ และหวังว่าจะมีงานที่ดีพอที่จะขอรับงบสนับสนุนใน
การทำงานและการจัดพิมพ์ได้ แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็ต้องใช้เวลาร่วม ๔ ปี กับการตามถ่ายภาพ
นกเงือก ๔ ชนิด
ผมใช้เวลา ๓ ฤดูทำรังของนก ตั้งแต่ ๕๑-๕๓ เฝ้าเรียนรู้และถ่ายภาพ นกเข้าโพรง
เลี้ยงลูก ลูกออกจากโพรง นกรวมฝูง ที่นอนของนก การหากินของนกบนต้นไทร ฯลฯ
เพื่อให้ได้ภาพพฤติกรรมครบถ้วนตามที่วางไว้ ส่วนในปี ๕๔ นั้นเป็นช่วงของการเก็บ
รายละเอียดของงานเท่าที่จะทำได้
เมื่องานถ่ายภาพใกล้จะเสร็จผมก็ได้รับข่าวดี เมื่อ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนงบประมาณ และได้รับข่าวดีและความกรุณายิ่งไปกว่านั้น
เมื่อท่านอาจารย์พิไลจะเขียนเนื้อหาในหนังสือให้
ความฝันเล็กๆ อีกเรื่องหนึ่งของเราที่กลายมาเป็นความจริง
เรียนเชิญทุกท่านพบกันในงานวันรักนกเงือก ๑๓ กุมภาพันธ์ งานเริ่มตั้งแต่เที่ยง-สองทุ่ม
พร้อมร่วมเปิดตัวหนังสือ “นกเงือก มรดกไทย มรดกโลก” เรื่องโดย ศ.ดร. พิไล พูลสวัสดิ์
ภาพโดย ณรงค์ สุวรรณรงค์ หนังสือมีจำหน่ายในงาน ราคาเต็ม ๑๕๐๐ บาท ลดเหลือ ๑๒๐๐ บาท
พร้อมถุงผ้า (เฉพาะในงาน) หนังสือปกแข็งขนาด ๑๑ x ๑๑ นิ้ว พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา
๔ สี ทั้งเล่ม หนาประมาณ ๒๑๖ หน้า(ยังไม่เห็นเล่มจริงเหมือนกันครับ)
รายได้จากการจำหน่ายทั้งหมดนำเข้าโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก
งานจัดที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พระราม ๖
ขอบคุณมากครับผม
เครดิตภาพ : Thailand Hornbill Project