นักเรียนน้อย
13th November 2012, 08:17 PM
รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
“สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” ปี 2555
ครั้งแรกที่เจอกันพวกเขายังเป็นเด็กๆ อายุประมาณ 2-3 เดือน ตอนนั้นทั้ง 8 ตัวถึงจะกินอาหารเอง
ได้แล้ว แต่ก็ยังวิ่งไล่เลียปากแม่ให้ขย้อนอาหารออกมาให้กิน ฝูงซึ่งมีสมาชิกรุ่นใหญ่ 5 ตัวคงต้องทำงานหนักมาก
ถึงจะเลี้ยงเด็กๆ พวกนี้ให้รอด
หลายปีมาแล้ว ผมเคยใช้เวลากว่า 3 ปี ติดตามเรียนรู้ชีวิต “หมาใน” ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
ผมพบหมาใน 3 ฝูงซึ่งมีรุ่นใหญ่ 8-10 ตัว แต่ละฝูงมีลูกเพียงแค่ 2 ตัว (อายุมากกว่า 3 เดือน) ต่อมาในปี 2552
ผมพบฝูงหมาในที่เขาใหญ่มีรุ่นใหญ่ 5 ตัว ก็มีลูก 2 ตัว ผมจึงเดาเอาว่า ศักยภาพที่จะเลี้ยงลูกให้รอดมีอยู่แค่นั้น...
แต่หมาในฝูงนี้ทำให้ความเชื่อของผมเปลี่ยนไป
มาเจอกันอีกครั้งตอนนี้พวกเขาอายุได้ 7-8 เดือน เริ่มเป็นหนุ่ม-สาว แต่นิสัยที่ดูได้ว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่คือ
การเล่นกัน หลังจากกินอิ่มพวกเขามักจะเล่น บางตัวคาบไม้วิ่งหนีเพื่อนที่ไล่แย่ง บางตัวเล่นคาบทึ้งดึงกระดูกกัน
และมีบางตัวที่ฝึกเล่นต่อสู้กัน คนที่ไม่เคยเห็นพฤติกรรมจริงๆ หากเห็นแต่ภาพอาจเข้าใจว่าพวกเขากำลังกัดกัน
แต่แท้ที่จริงเป็นเพียงการ “เต้นรำ” กันเท่านั้น
คนเรามักเข้าใจหมาในผิดๆ ในหลายๆ เรื่อง ความเป็นจริงหมาในมีส่วนสำคัญมากต่อระบบนิเวศ
เพราะในหลายพื้นที่ประชากรของเสือโคร่งและเสือดาวได้ลดน้อยลง บางพื้นที่ก็ไม่มีเหลือเลย
หมาในจึงเป็นผู้ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชที่สำคัญแทน และจำเป็นต้องมีเพื่อรักษาสมดุลในธรรมชาติ
หน้าที่อย่างหนึ่งของหมาใน คือควบคุมประชากรของสัตว์กินพืชให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
หากมีแต่สัตว์กินพืชขยายเผ่าพันธุ์เพียงอย่างเดียว พืชหลายชนิดที่เป็นอาหารก็จะถูกกัดกินจนเติบโตไม่ทัน
เมื่อถึงจุดหนึ่งพืชอาหารก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ธรรมชาติก็จะเสียสมดุลไป นอกจากนี้หมาในยัง
ช่วยกำจัดสัตว์ที่อ่อนแอหรือขี้โรค ช่วยให้สัตว์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้มีโอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีส่งต่อไป
ยังรุ่นลูกรุ่นหลาน
“สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” ปี 2555
ครั้งแรกที่เจอกันพวกเขายังเป็นเด็กๆ อายุประมาณ 2-3 เดือน ตอนนั้นทั้ง 8 ตัวถึงจะกินอาหารเอง
ได้แล้ว แต่ก็ยังวิ่งไล่เลียปากแม่ให้ขย้อนอาหารออกมาให้กิน ฝูงซึ่งมีสมาชิกรุ่นใหญ่ 5 ตัวคงต้องทำงานหนักมาก
ถึงจะเลี้ยงเด็กๆ พวกนี้ให้รอด
หลายปีมาแล้ว ผมเคยใช้เวลากว่า 3 ปี ติดตามเรียนรู้ชีวิต “หมาใน” ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
ผมพบหมาใน 3 ฝูงซึ่งมีรุ่นใหญ่ 8-10 ตัว แต่ละฝูงมีลูกเพียงแค่ 2 ตัว (อายุมากกว่า 3 เดือน) ต่อมาในปี 2552
ผมพบฝูงหมาในที่เขาใหญ่มีรุ่นใหญ่ 5 ตัว ก็มีลูก 2 ตัว ผมจึงเดาเอาว่า ศักยภาพที่จะเลี้ยงลูกให้รอดมีอยู่แค่นั้น...
แต่หมาในฝูงนี้ทำให้ความเชื่อของผมเปลี่ยนไป
มาเจอกันอีกครั้งตอนนี้พวกเขาอายุได้ 7-8 เดือน เริ่มเป็นหนุ่ม-สาว แต่นิสัยที่ดูได้ว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่คือ
การเล่นกัน หลังจากกินอิ่มพวกเขามักจะเล่น บางตัวคาบไม้วิ่งหนีเพื่อนที่ไล่แย่ง บางตัวเล่นคาบทึ้งดึงกระดูกกัน
และมีบางตัวที่ฝึกเล่นต่อสู้กัน คนที่ไม่เคยเห็นพฤติกรรมจริงๆ หากเห็นแต่ภาพอาจเข้าใจว่าพวกเขากำลังกัดกัน
แต่แท้ที่จริงเป็นเพียงการ “เต้นรำ” กันเท่านั้น
คนเรามักเข้าใจหมาในผิดๆ ในหลายๆ เรื่อง ความเป็นจริงหมาในมีส่วนสำคัญมากต่อระบบนิเวศ
เพราะในหลายพื้นที่ประชากรของเสือโคร่งและเสือดาวได้ลดน้อยลง บางพื้นที่ก็ไม่มีเหลือเลย
หมาในจึงเป็นผู้ควบคุมประชากรสัตว์กินพืชที่สำคัญแทน และจำเป็นต้องมีเพื่อรักษาสมดุลในธรรมชาติ
หน้าที่อย่างหนึ่งของหมาใน คือควบคุมประชากรของสัตว์กินพืชให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
หากมีแต่สัตว์กินพืชขยายเผ่าพันธุ์เพียงอย่างเดียว พืชหลายชนิดที่เป็นอาหารก็จะถูกกัดกินจนเติบโตไม่ทัน
เมื่อถึงจุดหนึ่งพืชอาหารก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ธรรมชาติก็จะเสียสมดุลไป นอกจากนี้หมาในยัง
ช่วยกำจัดสัตว์ที่อ่อนแอหรือขี้โรค ช่วยให้สัตว์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้มีโอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีส่งต่อไป
ยังรุ่นลูกรุ่นหลาน